การควบคุมภายใน สินทรัพย์ถาวร
การควบคุมภายใน สินทรัพย์ถาวร 1.มีการทำงบประมาณสำหรับค่าใช้จ่ายลงทุนซึ่งจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการหรือเจ้าของกิจการ งบประมาณที่อนุมัติแล้วแจ้งให้แผนกต่อไปนี้ทราบ 1.1 แผนกจัดซื้อหรือเจ้าหน้าที่จัดซื้อ 1.2 แผนกวิศวกรรม 1.3 แผนกบัญชี 2.การซื้อสินทรัพย์ถาวรแต่ละครั้งจะต้องดูว่า 2.1 เป็นการจ่ายที่จำเป็น 2.2 ราคาที่ขออนุมัติไม่มากหรือต่ำไป 2.3 สินทรัพย์ที่จะซื้อมาแทนที่มีประโยชน์คุ้มกับเงินลงทุน 2.4 ทางแผนกบัญชีได้มีการตั้งเจ้าหนี้ไว้ถูกต้อง 2.5 มีการประมาณอายุการใช้งานอย่างเหมาะสม 3.ทะเบียนทรัพย์สินหรือบัญชีย่อย จะต้องแสดงสิ่งต่อไปนี้ 3.1 หมายเลขและสถานที่เก็บของแต่ละชิ้น 3.2 อายุการใช้งาน และอัตราค่าเสื่อมราคา 3.3 ราคาต้นทุน ค่าเสื่อมราคาสะสม ค่าเสื่อมราคาประจำปี และค่าเสื่อมราคาสะสมยกไป 3.4 จำนวนรวมของแต่ละรายการ จะต้องเท่ากับบัญชีคุมยอด 4.ในกรณีที่มีทะเบียนหรือบัญชีย่อย ได้มีการตรวจสอบดังต่อไปนี้หรือไม่ 4.1 สินทรัพย์ได้มีการติดหมายเลขทะเบียน 4.2 มีการตรวจนับว่าสินทรัพย์มีอยู่ตามทะเบียน 4.3 ถ้าตรวจนับได้ไม่ครบให้ตรวจสอบทันที 5.นโยบายในการคำนวณค่าเสื่อมราคาได้กำหนดไว้อย่างแน่นอน 6.มีการแบ่งค่าเสื่อมราคาเป็นค่าใช้จ่ายของแผนกที่ใช้สินทรัพย์อย่างถูกต้อง 7.เมื่อคิดค่าเสื่อมราคาหมดแล้ว เพื่อให้เกิดการควบคุมภายในที่ดีให้เหลือราคาไว้ 1 บาท…
การควบคุมภายใน สินค้าคงเหลือ
การควบคุมภายใน สินค้าคงเหลือ 1.มีการทำบัญชีคุมสินค้าแบบต่อเนื่องสำหรับสินค้าทุกชนิด (ลงรายการทุกครั้งที่มีการรับ จ่าย) 1.1 วัตถุดิบ 1.2 งานระหว่างทำ 1.3 สินค้าสำเร็จรูป 1.4 อะไหล่ / วัสดุคงเหลือ 2.การซื้อทุกชนิด ได้มีหน่วยงานหรือคณะกรรมการที่ทำหน้าที่ในการตรวจตรวจรับสินค้าแยกจากแผนกจัดซื้อ แผนกคลังสินค้า และแผนก บัญชี 3.ได้มีการออกใบรับสินค้า ซึ่งมีหมายเลขพิมพ์เรียงลำดับไว้โดยมีสำเนาส่งไปที่ต่างๆดังนี้ 3.1 แผนกคลังสินค้า 3.2 แผนกบัญชี 3.3 แผนกจัดซื้อ 3.4 เก็บไว้ที่แผนกรับสินค้า หรือคณะกรรมการตรวจรับ 4.ทุกคลังสินค้าได้มีการเก็บรักษาสินค้าไว้อย่างปลอดภัย มีผู้รับผิดชอบโดยตรงรักษากุญแจและมีหัวหน้าควบคุม 5.การนำของออกจากคลังสินค้าจะทำได้ต่อเมื่อมีใบเบิกหรือใบส่งของหรืออินวอยซ์/ใบกำกับภาษี เท่านั้น 6.มีการตรวจสอบบัญชีที่มีการบันทึกแบบต่อเนื่องด้วยการ 6.1 ตรวจนับสินค้าตัวจริง 6.2 มีการตรวจนับมากกว่าหนึ่งครั้ง ภายในหนึ่งปี 7.การตรวจนับสินค้าตัวจริง กระทำโดยเจ้าหน้าที่ในแผนกคลังสินค้าร่วมกับแผนกบัญชีหรือแผนกอื่นที่ได้รับมอบหมาย 8.เมื่อวัตถุดิบที่ซื้อมามีปัญหา และใช้ไม่ได้จะต้องมีการรายงานและตรวจสอบทันที 9.เมื่อมีการตรวจสอบสินค้าตัวจริงแล้วไม่ตรงกับบัญชีสินค้าจะต้องทำรายงานเสนอต่อกรรมการผู้จัดการหรือผู้บริหารระดับสูง และขออนุมัติ ปรับปรุงบัญชีสินค้า าย…
การควบคุมภายใน เจ้าหนี้การค้า
การควบคุมภายใน เจ้าหนี้การค้า 1.สมุห์บัญชีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย จะต้องตรวจสอบอยู่เสมอว่า บัญชีย่อยเจ้าหนี้จะมียอดรวมตรงกับบัญชีคุมยอดเจ้าหนี้การค้า 2.รายงานเจ้าหนี้การค้าคงเหลือมีการตรวจสอบกับเอกสาร เช่น ใบส่งของ หรือบิลเก็บเงินที่ได้รับจากเจ้าหนี้การค้า ถ้าแตกต่างกันต้อง ติดตาม 3.การปรับปรุงยอดในบัญชีเจ้าหนี้การค้า ได้รับการอนุมัติโดยเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ 4.ยอดคงเหลือด้านเดบิตในบัญชีเจ้าหนี้การค้า ต้องมีการตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ 5.ถ้ากิจการมีนโยบายที่จะชำระหนี้โดยได้ส่วนลดจะต้องมีการตรวจสอบเวลาการชำระหนี้ว่าเกินกำหนดหรือไม่ 6.เมื่อได้รับรายงาน ( Statement ) จากเจ้าหนี้การค้าจะต้องมีการตรวจสอบว่าตรงกับรายการที่ลงบัญชีไว้หรือไม่ ถ้าแตกต่างกันต้อง ติดตามค้นหาสาเหตุ 7.เจ้าหนี้การค้าที่ไม่มารับเงินนานเกินกว่าปกติจะต้องติดตามหาสาเหตุ
การควบคุมภายใน ลูกหนี้การค้า
การควบคุมภายใน ลูกหนี้การค้า 1.สมุห์บัญชีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจะต้องตรวจสอบอยู่เสมอว่า ยอดรวมบัญชีลูกหนี้รายตัว จะต้องเท่ากับบัญชีคุมยอดลูกหนี้ 2.งบแสดงอายุลูกหนี้จะต้องมีการจัดทำและตรวจสอบโดยพนักงานที่ไม่เกี่ยวกับ การรับเงินและเสนอต่อผู้จัดการฝ่ายการเงินและบัญชี หรือกรรมการผู้จัดการ 3.ผู้จัดการฝ่ายการเงินและบัญชีหรือกรรมการผู้จัดการจะต้องแจ้งให้พนักงานขาย และพนักงานเก็บเงินทราบถึงลูกหนี้ที่ค้างชำระนานเกินกำหนด 4.มีการส่งคำยืนยันยอดไปยังลูกหนี้เป็นครั้งคราว 4.1 การรับเงิน 4.2 การบันทึกบัญชีลูกหนี้ 4.3 การขายสินค้า 5.พนักงานขายและพนักงานรับเงิน จะต้องไม่เป็นผู้ที่ทำบัญชีลูกหนี้ 6.การปรับปรุงบัญชีลูกหนี้จะต้องมีการอนุมัติโดยเจ้าหน้าที่ผู้ใหญ่ที่รับผิดชอบ เช่น ผู้จัดการฝ่ายการเงิน 7.การจำหน่ายหนี้สูญจะต้องอนุมัติโดยเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ เช่น ผู้จัดการฝ่ายการเงิน 8.เจ้าหน้าที่บัญชีลูกหนี้รายตัวไม่ได้ทำหน้าที่ต่อไปนี้ 8.1 การรับเงิน 8.2 ตรวจสอบใบส่งของหรืออินวอยซ์/ใบกำกับภาษีและใบลดหนี้ 8.3 การให้ส่วนลด 8.4 การลงบัญชีคุมยอดลูกหนี้ 8.5 การอนุมัติการจำหน่ายหนี้สูญ 9.แผนกสินเชื่อหรือผู้มีหน้าที่อนุมัติการขายเชื่อ 9.1 จะต้องได้รับการรายงานเกี่ยวกับลูกหนี้ค้างชำระนาน เพื่อจะได้ติดตามทวงถาม 9.2 ลูกหนี้ใหม่จะต้องรับอนุมัติจากผู้จัดการฝ่ายขาย และฝ่ายสินเชื่อหรือผู้ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่นี้ 9.3 จะต้องหมั่นตรวจสอบวงเงินสินเชื่อที่อนุมัติให้ลูกหนี้รายใดรายหนึ่งอยู่เสมอ 10.หนี้สินที่ค้างชำระนาน จะต้องมีการตรวจสอบเอกสารหลักฐาน เช่น ใบส่งของต้นฉบับ เพื่อให้แน่ใจว่ามีอยู่ครบถ้วน…
การควบคุมภายใน การซื้อ
การควบคุมภายใน การซื้อ 1.มีแผนกจัดซื้อเป็นหน่วยงานแยกต่างหากหรือมีพนักงานจัดซื้อไม่เกี่ยวข้องกับ 1.1. การบัญชีทั่วไป 1.2. การทำบัญชีสินค้า 1.3. การรับของ 1.4. การจัดส่งสินค้าให้ลูกค้า 1.5. การจ่ายเงินให้เจ้าหนี้ 2.การซื้อกระทำโดย 2.1 แผนกจัดซื้อหรือพนักงานจัดซื้อตามใบเสนอซื้อที่ได้รับอนุมัติแล้ว 2.2 การจัดซื้อแต่ละครั้ง แผนกผลิตและคลังเป็นผู้เสนอแนะเกี่ยวกับชนิดและ ปริมาณของสินค้าที่จะซื้อ 2.3 สั่งซื้อจากรายการราคาขายของผู้ขายที่ได้รับการอนุมัติ 2.4 มีการเปรียบเทียบราคาจากผู้ขายหลายแห่ง เพื่อให้ได้ราคาที่ดีที่สุด 2.5 ใบสั่งซื้อทำขึ้นโดย 1. เรียงลำดับหมายเลขไว้ล่วงหน้า 2. มีการอนุมัติการสั่งซื้อ 2.6 สำเนาใบสั่งซื้อได้ส่งไปยัง 1. แผนกบัญชีหรือเจ้าหน้าที่ผู้ทำใบสำคัญสั่งจ่าย 2. แผนกรับของหรือเจ้าหน้าที่ผู้ทำการตรวจรับของ 2.7 ใบรับของแสดงจำนวนที่นับได้จริง พร้อมทั้งลายเซ็นผู้ตรวจรับอย่างน้อย 2 คน 2.8 ในใบรับของได้ระบุถึงเงื่อนไขต่างๆ ในกรณีที่จะต้องมีการทดสอบคุณภาพในภายหลัง 2.9 ของที่มีคุณภาพพิเศษ จะต้องมีรายงานการตรวจสอบจากผู้ที่มีความชำนาญในเรื่องนั้นโดยเฉพาะ 2.10 ใบรับของที่มีเลขที่เรียงลำดับและมีสำเนาส่งให้…
การควบคุมภายใน การขาย
การควบคุมภายใน การขาย 1.มีการรับคำสั่งซื้อจากลูกค้าเป็นลายลักษณ์อักษร 2.คำสั่งซื้อของลูกค้ามีการตรวจสอบอนุมัติก่อน โดย 2.1 ผู้จัดการแผนกขาย 2.2 ผู้จัดการแผนกสินเชื่อ 3.ใบส่งของหรือ อินวอยซ์/ใบกำกับภาษี จัดทำโดยพนักงานที่ไม่เกี่ยวกับ 3.1 การจัดส่งของให้ลูกค้า 3.2 บันทึกบัญชีลูกหนี้ 3.3 การรับจ่าย และเก็บรักษาเงินสด 4.มีการเรียงลำดับหมายเลขของ ใบส่งของหรือใบอินวอยซ์/ใบกำกับภาษี ไว้ล่วงหน้าทั้งหมด 5.มีการตรวจสอบราคา โดยพนักงานที่รับผิดชอบกับรายการราคา Price List 6.Price Listได้มีการตรวจสอบโดยผู้จัดการขายเป็นครั้งคราว 7.พนักงานตรวจสอบใบส่งของหรืออินวอยซ์/ใบกำกับภาษี ซึ่งเป็นคนละคนกับพนักงานส่งของ พนักงานการเงิน พนักงานบัญชีลูกหนี้ จะต้องกระทำการตรวจสอบในเรื่อง 7.1 ราคาและการลดราคา 7.2 บันทึกบัญชีลูกหนี้ 7.3 การรับจ่าย และการรักษาเงินสด 8.เมื่อมีการยกเลิกใบส่งของหรืออินวอยซ์/ใบกำกับภาษี ฉบับใด จะต้องเก็บสำเนาทุกฉบับไว้ ด้วยกัน 9.พนักงานนำของไปส่งให้ลูกค้าจะต้องนำต้นฉบับที่มีลายเซ็นรับของมาเก็บไว้ที่แผนกการรับ เงินเพื่อเป็นหลักฐานการเก็บเงิน 10.มีการตรวจสอบ เปรียบเทียบใบสั่งซื้อของลูกค้ากับใบส่งของหรืออินวอยซ์ / ใบกำกับภาษี
การควบคุมภายใน การจ่ายเงินเดือนและค่าแรง
การควบคุมภายใน เกี่ยวกับการจ่ายเงินเดือนและค่าแรง 1.การบันทึกประวัติของพนักงาน ได้กระทำโดยพนักงานที่มิได้ทำหน้าที่จ่ายเงิน ประวัติที่บันทึกเกี่ยวกับ 1.1 การว่าจ้างเริ่มเมื่อใด และสิ้นสุดเมื่อใด 1.2 อัตราการว่าจ้าง 1.3 การขาดงาน วันหยุด ป่วย ลากิจ 1.4 ลายเซ็นพนักงาน 2.ผู้ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทำสมุดจ่ายเงินเดือน และค่าแรงจะต้องไม่เกี่ยวข้องกับ 2.1 การตกลงว่าจ้าง 2.2 อนุมัติอัตราว่าจ้าง 2.3 การบันทึกเวลา 2.4 การบันทึกต้นทุน 2.5 การจ่ายเงิน 3.มีการตรวจสอบเวลาการทำงานของพนักงาน 4.เงินเดือนและค่าแรงมีการกระจายไปให้งานต่างๆ แต่ละงาน หรือแผนกต่างๆ แต่ละแผนก 5.รายละเอียดค่าแรงและเงินเดือน ได้มีการอนุมัติโดยแผนกบุคคลและผู้จัดการของแต่ละฝ่าย ก่อนจะนำมาเขียนเช็คสั่งจ่าย 6.ทุกรายการในสมุดจ่ายเงินเดือนและค่าแรง ต้องเขียนด้วยหมึกและตัวเลขชัดเจน 7.เช็คที่เบิกจะต้องแสดงรายละเอียดจำนวนเงินสุทธิที่จะจ่ายให้พนักงาน 8.จะต้องมีการตรวจรายการเงินเดือนและค่าแรงเป็นประจำ โดยบุคคลที่ไม่ใช่ผู้ทำบัญชี เงินเดือนและค่าแรงและผู้จ่ายเงิน 9.จะต้องมีการอนุมัติโดยคณะกรรมการของบริษัทหรือเจ้าของกิจการ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง อัตราการจ่ายเงิน 10.การเตรียมเช็คเพื่อจ่าย 10.1 ทำโดยแผนกการเงิน และทำตามใบสำคัญสั่งจ่ายที่มีการอนุมัติแล้ว…
การควบคุมภายใน เกี่ยวกับการจ่ายเช็ค
การควบคุมภายใน เกี่ยวกับการจ่ายเช็ค 1.สมุดเช็คจะต้องประทับตราบริษัท 2.จะต้องทำงบกระทบยอดเงินฝากธนาคารทุกเดือนเป็นอย่างน้อย 3.เช็คยกเลิกมีเครื่องหมาย “ยกเลิก”และเก็บไว้กับต้นขั้ว 4.ในกรณีที่เป็นบริษัท จำกัด การเซ็นสั่งจ่ายเช็คกระทำโดยบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปซึ่งคณะกรรมการกำหนดไว้ 5.จะต้องนำหลักฐานการสั่งจ่ายเงินส่งไปพร้อมกับเช็คที่เขียนแล้ว เพื่อให้ผู้มีอำนาจหน้าที่ลงนามสั่งจ่ายเช็คตรวจสอบก่อนลงนาม 6.ไม่มีการจ่ายเงินตามใบสำคัญสั่งจ่ายโดยใช้หลักฐานประกอบซึ่งเป็นแต่เพียงสำเนา 7.ใบสำคัญสั่งจ่ายจะต้องบันทึกเลขที่เช็คที่จ่าย ชื่อธนาคาร และวันที่ในเช็ค 8.การจ่ายเงินออกจากกิจการทุกรายการ ยกเว้นเงินรองจ่าย ได้จ่ายเป็นเช็ค 9.ใบสำคัญสั่งจ่ายจะต้องมีการตรวจสอบอนุมัติโดยบุคคลซึ่งเป็นคนละคนกับผู้ทำใบสำคัญสั่งจ่าย 10.ใน 2 ของผู้มีอำนาจลงนามในเช็ค จะต้องไม่เป็น 10.1 ผู้บันทึกรายการทางบัญชี 10.2 ผู้รักษาเงิน 10.3 ผู้อนุมัติใบสำคัญสั่งจ่าย 11.เช็คจะต้องไม่มีการลงนามไว้ล่วงหน้า 12.เมื่อผู้มีอำนาจลงนามไว้ในเช็คแล้ว หลักฐานประกอบการจ่ายทุกใบจะต้องประทับตรา “จ่ายแล้ว”เพื่อป้องกันการนำมาเบิกซ้ำ 13.ใบสำคัญการสั่งจ่ายจะต้องมีใบเสร็จรับเงินและหลักฐานการสั่งจ่ายครบจึงจะเก็บเข้าแฟ้มได้ 14.งบกระทบยอดต้องทำโดยบุคคลที่ไม่ได้ลงรายการในสมุดเงินสดรับและจ่าย เก็บรักษาเงินหรือ ลงนามในเช็ค 15.รายงานจากธนาคาร ( Bank Statement)จะส่งตรงมายังบุคคลที่ทำหน้าที่ทำงบกระทบยอด 16.ในสมุดเงินสดได้มีการทำเครื่องหมายแสดงการตรวจสอบการนำเงินเข้าบัญชีธนาคารแล้ว หรือการจ่ายออกจากธนาคารโดยบุคคลที่ทำงบกระทบยอด
การควบคุมภายใน การจ่ายเงินสด
การควบคุมภายใน การจ่ายเงินสด 1.มีเพียงบุคคลเดียวรับผิดชอบวงเงินแต่ละวง ถ้าจำเป็นต้องมีหลายวงจะต้องเก็บไว้ในลักษณะที่สะดวกแก่การตรวจสอบแต่ละวงเงิน 2.มีการทำเครื่องหมาย “ จ่ายเงินแล้ว ” บนหลักฐานประกอบทุกฉบับ เพื่อป้องกันการนำมาใช้อีก 3.เมื่อมีการจ่ายเงินต้องมีใบสำคัญจ่ายเงินสดย่อย 4.การเบิกเงินทดแทนวงเงินสดย่อย จะต้องทำโดยผู้รักษาเงินสดย่อย 5.มีการอนุมัติโดยผู้ที่มีอำนาจ 6.ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงวงเงินสดย่อย จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการ 7.การเบิกเงินทดแทนจำต้องทำโดยการออกใบสำคัญจ่ายเช็ค
การควบคุมภายในการรับเงิน
การควบคุมภายในการรับเงิน เมื่อได้รับเงินจากลูกค้าควรมีการควบคุมดังนี้ ออกใบเสร็จรับเงินทุกครั้งที่มีการรับเงิน ใบเสร็จจะต้องมีลายเซ็นของผู้จัดการฝ่ายการเงินหรือผู้ที่มีหน้าที่ควบคุมการเงินและการบัญชี ใบเสร็จรับเงินต้องมีการพิมพ์หมายเลขเรียงลำดับไว้ล่วงหน้า ยอดรวมของใบเสร็จรับเงินในแต่ละวัน ได้มีการตรวจสอบยอดรวมของเงินที่นำฝากธนาคารและหลักฐานการรับเงินฝากธนาคารว่าเป็นยอดเงินที่ตรงกัน มีการตรวจสอบว่าใบเสร็จรับเงินได้นำมาลงบัญชีครบทุกฉบับ และหากมีการยกเลิกจะต้องมีเอกสารอยู่ครบชุด และขีดฆ่าเขียน คำว่า ยกเลิกทุกฉบับ เงินส่วนที่ไม่สามารถนำฝากทันในวันนั้น ให้แสดงยอดเงินแยกไว้ต่างหาก และเมื่อนำฝากในวันรุ่งขึ้น จะต้องสามารถตรวจสอบได้ว่าตรงกับหลักฐานการรับเงิน เมื่อมีการปรับบัญชี เพื่อแสดงเงินขาดเงินเกิน ต้องได้รับการอนุมัติทุกครั้ง เมื่อกิจการได้รับเงินจากลูกค้าทางไปรษณีย์ ควรมีการควบคุมดังนี้ ผู้เปิดจดหมาย ต้องไม่ใช่บุคคลเดียวกับผู้ที่นำเงินฝากธนาคาร หรือผู้ที่บันทึกบัญชี ผู้ที่เปิดจดหมายจะเป็นผู้ที่ทำรายละเอียดเกี่ยวกับการรับเงิน เพื่อให้ทราบว่าได้รับเงินจากลูกค้ารายใด เป็นเช็คธนาคารใด เลขที่เท่าใด จำนวนเงินเท่าใด ผู้ที่เปิดจดหมายจะต้องขีดคร่อมเช็คทุกฉบับเข้าบัญชีของบริษัทเท่านั้น จะต้องมีการตรวจสอบว่าเงินที่ได้รับทางไปรษณีย์ การเก็บเงินโดยพนักงานเก็บเงิน ควรมีการควบคุมดังนี้ ใบเสร็จรับเงินมีการให้เลขที่เรียงลำดับไว้ล่วงหน้า เงินที่ได้รับจะต้องนำส่งเจ้าหน้าที่การเงินทันที และจะต้องตรวจสอบความถูกต้องกับหลักฐานการรับเงินและนำฝากธนาคารทันที สามารถตรวจสอบได้ทุกเวลาว่าใบส่งของ/ใบกำกับภาษี และใบเสร็จรับเงินที่ยังเก็บเงินไม่ได้ ขณะนั้นอยู่ที่ใคร มีจำนวนเท่าใด จำนวนเงินเท่าใด มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร สามารถหาตัวผู้รับผิดชอบได้ หากกิจการมีการรับเงินตามใบเสร็จรับเงินชั่วคราว ควรมีการควบคุมดังนี้ ได้มีการแสดงไว้ในทะเบียนคุมว่า ได้มีการออกใบเสร็จรับเงินจริงแล้ว ถึงเลขที่เท่าใด ได้มีการบันทึกในใบเสร็จรับเงินชั่วคราวว่า ได้ยกเลิกและออกใบเสร็จรับเงินจริงแล้วเลขที่เท่าใดแทน…