รายได้

รายได้

คณะบุคคล HOME AUDIT
ชื่อลูกค้า…………………………………….
แนวการสอบบัญชี รายได้
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่………………………………………..

วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ เพื่อให้แน่ใจว่า
1. รายได้จากการขายเกิดขึ้นจริง
2. เงื่อนไขการขาย การรับคืน และส่วนลดได้มีการอนุมัติอย่างถูกต้อง
3.ได้มีการบันทึกบัญชีอย่างถูกต้องครบถ้วนในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามงวดบัญชีและเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
4. รายได้แสดงรายการและมีการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป

วิธีการตรวจสอบ    รายได้จากการขาย

ลำดับ

วิธีการตรวจสอบ

กระดาษที่

ทำการอ้างอิง

ปัญหา

ที่ตรวจพบ

ตรวจสอบโดย

/วันที่

การทดสอบสาระสำคัญ ( Substantive Test)

การตรวจสอบโดยการวิเคราะห์
1. วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงยอดขายที่เป็นจำนวนเงินมากและผิดปกติระหว่างงวดปัจจุบันและงวดก่อนโดยเปรียบเทียบ
•  ยอดขายรายเดือน โดยเฉพาะยอดขายก่อนและหลังวันสิ้นงวด พิจารณาความ สัมพันธ์กับลูกหนี้การค้าสิ้นงวด
•  ยอดขายรายเดือนแยกตามประเภทสินค้า และเปรียบเทียบกับต้นทุนขาย
•  รายการับคืนสินค้าและส่วนลดกับยอดขาย โดยเฉพาะการรับคืนและการให้ส่วนลดก่อนและหลังวันสิ้นงวด

วิธีการตรวจสอบอื่น

2. ตรวจสอบสมุดรายวันขาย โดย (กรณีใช้คอมพิวเตอร์ อาจใช้บัญชีแยกประเภทขาย)

2.1 ตรวจสอบยอดรวมในสมุดรายวันขายกับบัญชีแยกประเภทรายได้จากการขายหรือบัญชีอื่นที่เกี่ยวข้อง

2.2 ทดสอบการบวกเลขในสมุดรายวันขาย

3. ทดสอบความถูกต้องของรายการโดยเลือกรายการขายจากสมุดรายวันขายระหว่างงวด โดย

3.1 ตรวจสอบสำเนาใบกำกับสินค้าและใบส่งของที่มีลายเซ็นของลูกค้า

3.2 ตรวจสอบราคาขายและส่วนลด จาก Price lists

3.3 ทดสอบการคำนวณและบวกเลขในสำเนาใบส่งของ

3.4 ตรวจสอบการอนุมัติการขาย วงเงิน เครดิต ราคาขาย และส่วนลด

3.5 ทดสอบการบันทึกรายการขายไปยังบัญชีขาย บัญชีลูกหนี้ และบัญชีแกประเภทอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาษีขาย , ล้างเงินมัดจำ

3.6 ทดสอบการบันทึกบัญชีขายไปยังบัญชีลูกหนี้รายตัว รวมทั้งรายงานการวิเคราะห์อายุลูกหนี้   (Aging Reports)

3.7 สุ่มตัวอย่างรายการสินค้าจากสำเนาใบส่งของและสอบทานการบันทึกบัญชีขายสินค้าในบัญชีคุมสินค้า

3.8 ทดสอบการบันทึกรายการภาษีขายในรายงานภาษีขาย

3.9 ทดสอบการคำนวณ และอัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้ กรณีขายเป็นเงินตราต่างประเทศ

4.ตรวจสอบการรับคืนสินค้า การให้ส่วนลดโดยเฉพาะรายการที่มีสาระสำคัญและรายการที่ผิดปกติ โดย

4.1 สุ่มตัวอย่างใบลดหนี้ที่ออกระหว่างงวดจากสมุดรายวันขาย

4.2 ตรวจสอบการอนุมัติและความเหมาะสม เหตุผลในการออกใบลดหนี้

4.3 หากมีการรับคืนสินค้า ตรวจสอบเอกสารการรับคืนสินค้า

4.4 ทดสอบการคำนวณและบวกเลขในใบลดหนี้

4.5 ทดสอบการบันทึกรายการรับคืนในบัญชีสินค้ารับคืน ส่วนลด และบัญชีลูกหนี้ใน G/L

4.6 สุ่มตัวอย่างรายการสินค้าที่รับคืนและสอบทานการบันทึกในบัญชีคุมสินค้า

5.ตรวจสอยรายการฝากขาย โดยตรวจสอบสัญญาฝากขายและการบันทึกบัญชี

6.ตรวจสอบยอดขายสินค้าที่ขายให้แก่บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

7.การตรวจตัดยอดขาย ณ สิ้นงวด    โดย   ( ดูในหมวดสินค้าคงเหลือ)

7.1สอบทานการเรียงลำดับเลขที่ของสำเนาใบส่งของ

7.2เลือกตรวจสำเนาใบส่งของที่มีลายมือชื่อผู้รับของ    ในช่วงก่อนและหลังสิ้นงวด โดยตรวจสอบกับการบันทึกบัญชีลูกหนี้การค้า บัญชีขาย และบัญชีแยกประเภทอื่น

7.3 ตรวจสอบกับบัญชีคุมสินค้าว่าตัดบัญชีตรงกับวันที่ขาย

8. การตรวจตัดยอดการรับคืนสินค้า ณ วันสิ้นงวด โดยสุ่มตัวอย่างจากใบลดหนี้ก่อนและหลังวันสิ้นงวด

9. ตรวจสอบรายได้อื่น เช่น ดอกเบี้ยรับ เงินปันผล กำไร(ขาดทุน) จากการขายเงินลงทุน โดยตรวจสอบสัญญาและหลักฐานสำคัญที่เกี่ยวข้อง      หรือ อ้างอิง จากกระดาษทำการ จากการตรวจสอบบัญชีอื่นที่เกี่ยวข้อง